วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 2 (หัวข้อที่ 10)

การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือใน ห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการ สืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บ อยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้อง เดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ - - - นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ - - - นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมา เขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

เรื่องที่ใกล้เคียง

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำ สัปดาห์ 1( ที่ 10)

WEB OPAC (Online Public Access Catalog - OPAC)




WEB OPAC (Online Public Access Catalog - OPAC) เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรภายในห้องสมุดนั้น เช่น หนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง แหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ บาร์โค้ด ISBN ฯลฯ ซึ่งใช้หลักการสืบค้นเช่นเดียวกับการสืบค้นด้วยบัตรรายการในอดีต










ห้องสมุด ทุกแห่งจัดเครื่อง คอมพิวเตอร์ ไว้สำหรับค้นหาทรัพยากรของห้องสมุด โดยได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ประจำอยู่ตามห้องและชั้นต่างๆ ภายในห้องสมุด นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการ ยังสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดจากภายนอกผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตของมหาวิทยาลัย หรือค้นหาภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยก็ได้ สามารถค้นหาได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่

นอกจากนั้นฐานข้อมูล OPAC ยังช่วยสมาชิกของห้องสมุด ตรวจสอบประวัติการยืมทรัพยากร, ยืมต่อผ่านระบบออนไลน์ และจองทรัพยากรห้องสมุดผ่าน Web OPAC ได้อีกด้วย เหมือนระบบธนาคารออนไลน์ค่ะ ที่ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมเองได้







ที่มา : http://www.library.illinois.edu/spx/webct/nationalbib/natbibmacedonia2.htm





ห้อง สมุดแต่ละแห่งจัดทำ WEB OPAC ของตนเอง และเลือกใช้โปรแกรมแตกต่างกันด้วย ดังนั้นลักษณะ รายละเอียด และการใช้งาน WEB OPAC ย่อมแตกต่างกัน ห้องสมุดหรือสถาบันการศึกษาจึงจัดอบรมการใช้ WEB OPAC ให้แก่นักศึกษาใหม่ และบุคลากร นอกจากนั้นยังจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าห้องสมุดมีอะไรให้บริการบ้าง บริการแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ข้อมูลที่ต้องการสามารถค้นหาได้ที่ไหน และจะค้นหาอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด







ที่มา : http://kulibrary.spaces.live.com/



การจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับ OPAC หมายถึงการพัฒนาผู้ใช้ให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องทรัพยากรสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ คู่มือช่วยการค้นคว้าและกลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความรู้ความสามารถและเกิดทักษะในการสืบค้นสารสนเทศ ที่ต้องการได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังเป็นการให้การศึกษาด้วยตนเองตลอดชีวิต ผู้ใช้สามารถที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองแม้ว่าจะจบการศึกษาแล้วก็ตาม








เอกสารอ้างอิง
"Web Opac" [online] http://www.library.kku.ac.th/infoliteracy/opac_search_resource.html
"การ ให้การศึกษาแก่ผู้ใช้บริการ " [online] http://www.lib.ru.ac.th/article/useredu.html
http://kulibrary.spaces.live.com/

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โปรเจ็ก เรื่องจอบหมุน




จอบหมุน เป็นอุปกรณ์เตรียมดินติดรถแทรกเตอร์ ซึ่งได้รับความนิยมมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยว่าเตรียมดินได้ดีและทำงานรวดเร็ว อีกทั้งลดการติดหล่มของรถได้อีกด้วย
ปัจจุบันนี้ เกษตรกรไทยนิยมซื้อรถแทรกเตอร์สี่ล้อเล็ก (ขนาดตั้งแต่ 35 แรงม้า ลงมา) มือสองจากประเทศญี่ปุ่น มาใช้งานเพื่อเตรียมดินทำนาปลูกข้าวกันมาก ส่งผลให้ลดความเหนื่อยและเตรียมดินได้ทันต่อความต้องการ นอกจากนี้ ยังสามารถทดแทนแรงงานภาคเกษตรซึ่งส่วนหนึ่งย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและ บริการได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการสั่งซื้อรถแทรกเตอร์สี่ล้อเล็กที่มีจอบหมุนติดมาด้วยนั้นมักประสบปัญหา นั่นก็คือ จอบหมุนทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะว่าออกแบบมาเพื่อใช้งานต่างประเทศ ไม่เหมาะสมต่อสภาพนาข้าวไทย เช่น ดินเหนียว ฟางข้าวยาว ฯลฯ
ฟางพันใบจอบหมุน กินกำลังมาก สิ้นเปลืองน้ำมัน ตลอดจนหาอะไหล่ยาก
นี่คือ ปัญหา
ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โดย คุณ สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์ คุณอัคคพล เสนาณรงค์ คุณขนิษฐ์ หว่านณรงค์ คุณประสาท แสงพันธุ์ตา
จึงได้ออกแบบจอบหมุนติดรถแทรกเตอร์สี่ล้อเล็กขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และก็ประสบความสำเร็จ คือ ได้ผลิตจอบหมุนที่สามารถสร้างและซ่อมแซมง่าย ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะกับสภาพนาข้าวไทย ทำให้ฟางไม่พันใบจอบหมุน กินกำลังน้อย และประหยัดน้ำมันด้วย
คุณอัคคพล เล่าว่า เราได้ออกแบบจอบหมุนติดรถแทรกเตอร์สี่ล้อขนาดเล็ก แบบพ่วง 3 จุด ถ่ายทอดกำลังจากตัวรถแทรกเตอร์ผ่านเพลา อำนวยกำลังไปยังห้องเกียร์จอบหมุน โดยใช้อัตราทด 1.46 ต่อ 1 และถ่ายทอดกำลังจากห้องเกียร์ผ่านเฟืองโซ่ไปยังเพลาจอบหมุน ด้วยอัตราทด 1.42 ต่อ 1 เพื่อให้เพลาจอบหมุน หมุนด้วยความเร็วรอบประมาณ 200 รอบ/นาที ใช้ใบจอบหมุนรูปแอลผสมซี และจัดให้ใบเรียงตัวเป็นเกลียว เอียง 7 องศา โดยจอบหมุนจะเยื้องไปทางขวาง เพื่อให้กลบรอยล้อได้สนิท


จากการทดสอบหาสมรรถนะในการทำงานโดยใช้รถแทรกเตอร์ขนาด เครื่องยนต์ 11.5 แรงม้าเป็นต้นกำลัง เมื่อใช้จอบหมุนขนาดหน้ากว้าง 1.2 เมตร ได้ความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 1.25 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพในการทำงาน (เชิงพื้นที่) เฉลี่ย 57.06 เปอร์เซ็นต์ ความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เฉลี่ย 2.12 ลิตร/ไร่ และเมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ โดยไม่ได้คิดต้นทุนรถแทรกเตอร์ และเครื่องยนต์แล้ว จะมีจุดคุ้มทุนเมื่อใช้งานประมาณ 164 ไร่/ปี เมื่อคิดราคาจอบหมุนที่ 25,000 บาท และอัตราค่าจ้างในการเตรียมดิน 150 บาท/ไร่

งานวิจัยนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการออกแบบและพัฒนารถแทรกเตอร์ ขนาดเล็กติดจอบหมุน และได้ร่วมวิจัยกับ บริษัท เค แอนด์ โอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ลักษณะดีเด่นจอบหมุนติดรถแทรกเตอร์สี่ล้อขนาดเล็ก มีดังนี้ คือ


1. จอบหมุนมีขนาดหน้ากว้างต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ 1.2, 1.4 และ 1.6 เมตร ตามความเหมาะสมกับขนาดรถแทรกเตอร์ จอบหมุนเยื้องไปทางขวาเพื่อให้เตรียมดินได้ราบเรียบ กลบรอยล้อได้สนิท และเตรียมดินชิดขอบคันนาได้สะดวกและสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้ว การขับเคลื่อนตัวรถแทรกเตอร์ค่อนข้างเสถียร (ไม่ปัดไปมา) เนื่องจากล้อรถแทรกเตอร์จะวิ่งอยู่บนดินที่ยังไม่ถูกจอบหมุนตีดิน

2. ใบจอบหมุนรูปแอลผสมซี เป็นเทคโนโลยีใหม่ของยุโรป ซึ่งรวมเอาคุณลักษณะในเรื่องการสลัดฟางวัชพืช และดินได้ดีของใบรูปซี (แบบญี่ปุ่น) พร้อมทั้งคุณลักษณะด้านความแข็งแรงของใบรูปแอล (แบบยุโรปดั้งเดิม) เข้าด้วยกัน

3. การเรียงใบจอบหมุนจะวางใบให้เรียงตัวเป็นเกลียว เอียง 7 องศา ทำให้ใบจอบหมุนในแต่ละจานยึดใบจอบหมุนไม่ตีดินพร้อมกัน ลดการใช้กำลังของจอบหมุน

4. จานยึดใบจอบหมุน 6 ใบ วางสลับด้านกันข้างละ 3 ใบ เพื่อไม่ให้เกิดแนวรอยจานที่ไม่มีการตีดิน

5. ระยะห่างระหว่างจานยึดใบจอบหมุน จะกำหนดให้มีการเหลื่อมซ้อนของปลายใบจอบหมุนประมาณ 1 เซนติเมตร ซึ่งเมื่อปลายใบสึกหรอจะไม่เกิดแนวรอยที่ไม่มีการตีดิน

6. อุปกรณ์และชิ้นส่วนทุกชิ้นสามารถซ่อมแซมบำรุงรักษาได้ง่าย


คุณอัคคพล บอกว่า เกษตรกรที่ใช้งานจอบหมุนติดรถแทรกเตอร์สี่ล้อขนาดเล็กนี้ จะประหยัดน้ำมันในการเตรียมดิน นอกจากนั้นแล้วฟางและวัชพืชที่ผ่านการตีดินด้วยจอบหมุนแล้วจะกลายเป็นปุ๋ย ให้กับแปลงนาต่อไป

"ส่วนผู้รับจ้างในการเตรียมดิน การคุ้มทุนสำหรับจอบหมุนติดรถแทรกเตอร์สี่ล้อขนาดเล็กนี้ จะคุ้มทุนในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากการบำรุงรักษาทำได้ง่ายและเปลี่ยนอะไหล่ได้ทุกชิ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนโดยไม่คิดต้นทุนรถแทรกเตอร์และเครื่องยนต์ แล้ว จะมีจุดคุ้มทุนเมื่อใช้งานประมาณ 164 ไร่/ปี เมื่อจอบหมุนขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร ราคา 25,000 บาท และอัตราค่าจ้างในการเตรียมดิน 150 บาท/ไร่"

อนึ่ง การใช้งานของจอบหมุนติดรถแทรกเตอร์สี่ล้อขนาดเล็กนี้ ออกแบบให้ใช้เตรียมดินขั้นต้นในแปลงนาข้าวชลประทาน ซึ่งไม่เป็นหล่มมากนัก โดยใช้ความเร็วรอบเพลาอำนวยกำลังที่ 540 รอบ/นาที นอกจากนี้ จอบหมุนที่ออกแบบมานี้สามารถใช้เตรียมดินสำหรับพืชอื่นได้ตามความเหมาะสม ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
















ขอ ให้นักศึกษาสร้างบล็อก ตามมาตรฐานดังนี้นะคะ
1. ตั้งชื่อบล็อกโดยขึ้นต้นด้วย il- แล้วตามด้วยชื่อที่ ต้องการ


2. ใส่ชื่อโปรเจ็กไว้ใน Blog Description


3. ใส่รูปภาพใน Profile เพืื่อง่ายต่อการจดจำ


4. ใส่ชื่อสมาชิก พร้อมสาขาวิชาและชั้นปีไว้ที่ Sidebar (เป็นรายการแรก)


5. แจ้ง URL Blog นักศึกษา ที่นี่นะคะ(จำแนก ตามวันที่เรียน)


6. ไม่เผยแพร่ถ้อยคำและภาพที่ไม่เหมาะสมcredit to http://nawasai-course1.blogspot.com/