ตัวอย่างบริการเสริมของ OPAC ด้วยการใหับริการการเขียนรายการอ้างอิงผ่านระบบ OPAC ของห้องสมุด Longwood University / Greenwood Library
เมื่อคลิกที่ Cite this ระบบจะแสดงรายการอ้างอิงจากหลายๆ ค่าย ทั้งของ APA, Chicago, Harvard, MLA, และ Turabain ของรายการหนังสือที่สืบค้นให้
ที่่ห้องสมุด Plymouth State University เสริมการบริการสืบค้นผ่าน OPAC ของห้องสมุดด้วยการส่งข้อความเข้าโทรศัพท์มือถือ นับเป็นบริการเสริมที่น่าติดตามทีเดียว
เมื่อคลิก Text this to your cell phone จะมีช่องให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่ต้องการส่งข้อความที่สืบค้นได้เข้าโทรศัพท์มือถือ
LTFL หรือ Libraries using LibraryThing for Libraries เป็นกลุ่มห้องสมุดที่ใช้ LibraryThing เพิ่มเข้ามาในระบบ OPAC ทำให้ระบบ OPAC มีลูกเล่นมากขึ้น ตอนนี้มี 3 ลูกเล่น แบ่งเป็น CE RE SBCE (Catalog Enhancements) มีการเพิ่ม Tag ที่ผู้ใช้ add เข้าไปและเชื่อมโยงไปถึงหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กัน
RE (Reviews Enhancements) เพิ่มการวิจารณ์หนังสือแต่ละเล่มเข้าไป และมีการให้คะแนน หรือให้จำนวนดาวของหนังสือเข้าไปด้วย
SB (Shelf Browse Enhancement) มีการเรียกดูรายการหนังสือแบบ Virtual Shelf น่าดึงดูดใจทีเดียว
เข้าไปศึกษาดูตัวอย่างดังกล่าวได้ที่ http://www.librarything.com/wiki/index.php/LTFL:Libraries_using_LibraryThing_for_Libraries นะคะ จะเห็นว่า Library 2.0 เข้าไปอยู่ในส่วนของ Cataloging ของห้องสมุดของคุณได้ชัดเจนทีเดียวค่ะ
Professional Indexing VS. Personal Indexing และ Subject Cataloging VS. Social Tagging และ Taxonomy VS. Folksonomy และ Expert Metadata VS. User-Generated Metadata
กลุ่มคำทั้งสี่ชุดนี้ ถ้าถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นสารสนเทศของห้องสมุด น่าสนใจมากทีเดียว ปัจจุบันมีห้องสมุดหลายแห่งเริ่มนำแนวความคิดนี้มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของ การสืบค้นทาง OPAC ของห้องสมุด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.stks.or.th/web
โดยปกติการทำอ้างอิง บรรณานุกรมมักจะใช้โปรแกรม EndNote มาช่วยบริหารจัดการ แต่สำหรับท่านที่สนใจ OSS โปรแกรม Firefox ผสานพลังด้วย Zotero เป็นตัวนำที่น่าสนใจและโดดเด่นมาก ไม่เพราะสาเหตุ “ฟรี” และใช้ได้สะดวกกว่าเท่านั้น แต่เพราะโปรแกรม Zotero สามารถดึงข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือ เอกสารรวมสื่อต่างๆ จาก OPAC มาเก็บเป็นรายการบรรณุกรมพร้อมนำไปอ้างอิงในเอกสารได้ทันที อีกทั้งรองรับการทำงานทั้งกับ Microsoft Word และ OpenOffice.org Writer
แต่ปัญหาของ Zotero ก็คือ จะดึงบรรณานุกรมหนังสือได้ เมื่อ OPAC นั้นรองรับเทคโนโลยี OpenURL ซึ่งตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่า OPAC ของท่านรองรับ OpenURL หรือไม่ได้ โดยสืบค้นหนังสือ เอกสาร สื่อผ่าน OPAC ของหน่วยงานด้วย Firefox ที่ติดตั้ง Zotero (รายละเอียดการติดตั้ง) แล้วสังเกตใน Address bar หากปรากฏไอคอนเล็กด้านท้ายของ Address bar เป็นรูปหนังสือสีฟ้า หรือกระดาษสีขาว หรือแฟ้มสีเหลือง และเมื่อคลิกไปแล้ว มีรายการบรรณานุกรมหนังสือเก็บในระบบ Zotero แสดงว่า OPAC ของท่าน สนับสนุน OpenURL
จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่ามีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เปิดบริการ OPAC แต่ไม่รองรับ OpenURL จะเป็นแหล่งใดบ้าง ก็ลองตรวจสอบกันดูนะครับ
การใช้โปรแกรมอะไรก็ตามที่ต้องทำงานร่วมกันในหลายๆ หน้าที่ และเป็นที่เก็บข้อมูลมากๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องของการเตรียมเรื่องเซิร์ฟเวอร์ หน่วยความจำที่เพียงพอ ซึ่งในเรื่องของฮาร์ดแวร์ไม่น่าจะมีอะไรที่ต้องกังวลมากนัก แต่สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ Read the rest of this entry »
เนื่องจาก Koha เป็น Open Source แม้นว่าจะไม่มีบริษัทใดๆ ที่ประกาศตัวว่า พัฒนาต่อยอด Koha เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ด้วยความที่เป็น Open Source ทำให้โปรแกรมเมอร์ต่างๆ ที่เป็นมืออาชีพ (ขอเน้นว่ามืออาชีพ และเปิดใจรับ OSS เนื่องจากประเทศไทยยังมีโปรแกรมเมอร์จำนวนมากเช่นกันที่กลัว OSS หรือมีอคติกับ OSS) สามารถแกะโปรแกรมและปรับแต่งได้อย่างแน่นอน ดังนั้น บริษัทพัฒนา Web application ต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งโปรแกรมเมอร์ Freelance ต่างสามารถรับช่วงพัฒนาต่อยอด Koha ได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะด้านเทคนิค
Read the rest of this entry »
งบประมาณในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha อาจจะต้องแยกเป็นหลายกรณี ดังนี้
1. ระบบเครือข่ายและรักษาความปลอดภัย กรณีที่หน่วยงานมีอยู่แล้วก็คงใช้ระบบเดิมได้ทันที แต่หากหน่วยงานใหม่ก็อาจจะเลือกใช้พัฒนาเอง หรือใช้บริการจาก ISP ที่ให้บริการจะเหมาะสมกว่า ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา2. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ กรณีนี้คงจะบอกได้ว่า “ศูนย์บาท” เนื่องจาก สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทันที ยิ่งหน่วยงานใดเป็น International ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ทันที แต่ถ้าจะใช้งานในระบบภาษาไทย จำเป็นต้องเตรียมงบประมาณในส่วนการปรับปรุงภาษาไทย อาจติดต่อกับหน่วยงานที่เคยพัฒนาภาษาไทยให้เปิดเผยส่วนนี้ เป็น Open Source ให้ดาวน์โหลดได้ฟรีด้วย หากทำได้จะเป็น “ศูนย์บาท” ได้ 100% แน่นอน อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่สนใจนำมาใช้ หากไม่มีโปรแกรมเมอร์ที่มีทักษะพอ อาจจะต้องจัดงบประมาณการติดตั้งระบบด้วยซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท
การเตรียมการประการแรกและสำคัญคือ ความเชื่อมั่นในระบบ Open Source เพราะหากไม่มีความเชื่อมั่น ก็คงทำให้เกิดผลได้ยาก เมื่อมีใจให้แล้วก็สามารถเริ่มงานได้เลย โดยพิจารณาจากความพร้อมทางด้านระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย ความรู้ ความสามารถของโปรแกรมเมอร์ของหน่วยงาน
ถ้าจะพูดถึงความสมบูรณ์ คงต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ที่เป็นผู้ดูแลมากกว่า ที่จะต้องการให้โปรแกรมการทำงานของห้องสมุดมีความครอบคลุมทุกประเด็นแค่ไหน เพราะการพัฒนาโปรแกรม Koha ต้องอาศัยบรรณารักษ์ที่มีความชำนาญมากในเรื่องฟังก์ชั่นการทำงานของห้องสมุด ซึ่งสามารถร่วมวิจัยและพัฒนาไปกับทีมพัฒนาได้ ผิดกับโปรแกรมที่ซื้อมาด้วยราคาแพง เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงหรือให้พัฒนาอะไร ต้องเสียค่าใช้จ่าย และบางครั้งก็ได้แบบไม่ตรงใจนัก
การจะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการมาใช้ โดยเฉพาะเป็นซอฟต์แวร์รหัสเืปิดด้วยแล้ว ควรจะพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1. เป็นโปรแกรมที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. มีโมดูลการทำงานอย่างน้อย cataloging, circulation, OPAC, acquisition, serial contrl และบูรณาการกันได้
3. ใช้ MARC
4. Source code หรือ document สามารถดาวน์โหลดได้ภายใต้ GNU General Public License
5. Adaptability and user friendly system
6. Scalability
หลาย ๆ ท่านคงจะคุ้นเคยกับการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุด ที่เรียกกันว่า OPAC ตอนนี้ STKS หรือศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เข้าใช้ในห้องสมุด ศวท. เองแล้ว โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก เมื่อเทียบกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติเชิงพาณิชย์ Read the rest of this entry »
ระบบงานควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial control module) ครอบคลุมตั้งแต่การลงทะเบียนวารสารไปจนถึงการเย็บเล่ม การลงทะเบียนวารสารจะใช้กราฟิกแสดงบัตรทะเบียนวารสาร (Kardex) ระบบควบคุมทะเบียนวารสารจะถูกเชื่อมโยงเข้าระบบงานหลักอื่น ๆ อีกด้วย
ระบบงานสืบค้นออนไลน์ (Online Public Access Cataloging) หรือ OPAC เป็นระบบงานที่ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศ สามารถสืบค้นได้จากชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ตรรกบูลีน คำสำคัญ เป็นต้น
เมื่อจะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาใช้ จึงต้องมีการพิจารณาหน้าที่การทำงานต่าง ๆของระบบเพื่อให้รองรับการทำงานของห้องสมุดในระบบเดิม จึงมีการแบ่งออกเป็น Module ต่าง ๆ ตามหน้าที่การทำงานของห้องสมุด ออกเป็น Read the rest of this entry »
โปรแกรม Koha เป็นซอฟร์แวร์รหัสเิิปิดหรือ โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ัตัวแรกที่เป็นโปรแกรมห้องสมุดแบบบูรณาการ (Library Integrated System) เริ่มเข้าไปศึกษาดูแล้ว ก็มี function หรือ module ในการทำงานเหมือน ๆ กับห้องสมุดอัตโนมัติเชิงพาณิชย์ เช่น โปรแกรมอินโนแพค วีทีแอลเอส ไดนิกซ์ ฯลฯ Read the rest of this entry »
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น